"ชีวิตเด็กท้องนา ศึกษาก็เพียงชั้นป.4 อักษรตัวก. ถึง ฮ. พอแล้วน้องพี่ จะ
จนข้นแค้นหรือมีมิใช่อยู่ที่ปริญญา"
นั่นคือเพลงเด็กท้องนา โดยนักร้องลูกทุ่งรุ่นศิษย์สุรพล อย่าง ละอองดาว-
สกาวเดือน
มาถึงรุ่นศิริพรอำไพพงษ์ ก็ยังไม่ไกลจากรุ่นก่อนโน้นนัก ในแง่ของ ปริญญา
"ได้ฮักกับอ้ายเหมือนใจได้ปริญญา"
ปริญญา เป็นเพียง ปริญญาใจ ความสำเร็จอันสมมติเอาเองว่าเหมือนได้ปริญญา
ม าวันนี้ผู้มีใจฝักใฝ่ในวิถีลูกทุ่งกับปริญญา มิได้มีช่องว่างห่างไกลกัน
แล้ว เมื่อมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดคณะศิลปกรรมศาสตร์ และมีวิชาเอกสาขา
เพลงลู กทุ่ง สอนครบหลักสูตรทั้งการร้อง การแต่ง การเต้น การจัดการธุรกิจ
ฯลฯ
ดูไปก็เหมือนฝันแต่ในความเป็นจริง เรื่องทำนองนี้ได้สั่งสมมานานแล้ว คือ
การตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ สอนการร้องรำทำเพลง
โปงลางสะออน คือวงดนตรีตัวอย่างผลงานของวิทยาลัยนาฏศิลป์
แทนที่จะไปเรียนแบบครูพักลักจำหรือหัดเองเรียนเอง ก็มีหลักสูตร มีระบบการ
เรียนการสอนให้เป็นเรื่องเป็นราวไป
เ ห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะจัดการให้เพลงลูกทุ่งเป็นศาสตร์เป็นศิลป์ที่มี
หลัก มี ระดับทางวัฒนธรรม เพราะเพลงลูกทุ่งใกล้ชิดชีวิตประชาชนในวงกว้าง
มีผลกระทบ มีอิทธิพลกับสังคมอย่างชัดเจน
ย้อนดูไปในความเป็นมากว่าจะเป็นเพลงลูกทุ่ง คือยุค เพลงตลาด เพลงชีวิต
นั้น นักเพลงคนสำคัญมีพื้นการศึกษาระดับมัธยมขึ้นไปเป็นส ่วนมาก ทั้งที่
โอกาสในการศึกษาสมัยกว่า 50 ปีที่แล้ว นับว่าหายาก
ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นมงคลอมาตยกุล ไพบูลย์ บุตรขัน คำรณ สัมบุณณานนท์ สุรพล
สมบัติเจริญ เบญจมินทร์ ฯลฯ
เ ป็นรุ่นครูเพลงที่เมื่อมาตั้งสำนักก็เป็นเหมือนตักศิลา ปลุกปั้นบุคลากร
ป้อน วงการเพลงลูกทุ่ง ก่อเกิดเป็นความแข็งแกร่งและก้าวไกล แม้ลูกศิษย์เห
ล่านี้อ าจมีพื้นความรู้ตามระบบการศึกษามาไม่มากนัก
และสถาบันสำคัญอันเป็นเหมือนมหาวิทยาลัยของลูกทุ่งคือวงดนตรี จุฬารัตน์ของ
ครูมงคลอมาตยกุล
วันเวลาผ่านไปคราวนี้จะมีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจริงๆ ในวิชาการลูกทุ่ง
ที่ ม.รามคำแหง ยินดีต้อนรับครับ
ไผ่เสี้ยว นาน้ำใส
ที่มา
http://www.komchadluek.net/2007/06/25/f001_124230.php?news_id=124230